rolex-mission-blue-galapagos
WATCHES & JEWELLERY

Rolex ร่วมอนุรักษ์ความอุดมสมบูรณ์ของชีวภาพใต้มหาสมุทรของ 'หมู่เกาะกาลาปากอส' ในโครงการ Mission Blue

“หากปกป้องหมู่เกาะกาลาปากอสไม่ได้ แล้วคุณจะสามารถปกป้องส่วนใดในโลกใบนี้ได้” นักสมุทรศาสตร์ระดับตำนาน Sylvia Earle กล่าวไว้ หลังจากค้นพบว่าระบบนิเวศของหมู่เกาะกาลาปากอสนั้นมีพืชและสัตว์นานาชนิดที่หาไม่ได้ที่อื่นในโลก จึงทำให้องค์กร Mission Blue ที่เธอตั้งร่วมกับ Rolex เลือกเป็นพื้นที่เพื่อการศึกษาและวิจัยที่จะนำไปสู่การอนุรักษ์ก่อนจะสายเกินไป

Sylvia Earle นักสมุทรศาสตร์แห่งตำนานที่เดินทางไปทั่วโลกเพื่อไปสำรวจพื้นที่ใต้ท้องมหาสมุทรมาตั้งแต่ปี 1964 ทำให้เธอเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์อย่างลึกซึ้งด้านระบบนิเวศทางทะเลจากการพบเหล่าฝูงสัตว์และพืชทะเลหลากหลายพันธุ์ จนกระทั่งในปี 1966 ซิลเวียมีโอกาสเดินทางไปยังหมู่เกาะกาลาปากอส ประเทศเอกวาดอร์เป็นครั้งแรก ทำให้เธอได้พบเจอกับพื้นที่ใต้ท้องทะเลที่มีระดับความอุดมสมบูรณ์มากกว่าที่ใดที่เธอเคยไปเยือนมาก่อน รวมถึงยังได้เห็นความหลากหลายของพันธุ์ปลาฉลาม ฝูงสัตว์ทะเล และพืชทะเลชนิดอื่นที่ไม่สามารถพบเห็นได้ที่อื่นในโลก เธอจึงอยากสำรวจและศึกษาพื้นที่และระบบนิเวศเพื่อจะได้อนุรักษ์และนำไปเป็นตัวอย่างในการฟื้นฟูพื้นที่มหาสมุทรอีกมากมาย

1 / 3

Sylvia Earle นักสมุทรศาสตร์ ผู้ก่อตั้งองค์กร Mission Blue ร่วมกับ Rolex


2 / 3

เกาะ Wolf ส่วนหนึ่งของหมู่เกาะกาลาปากอส ประเทศเอกวาดอร์


3 / 3

เกาะ Darwin ส่วนหนึ่งของหมู่เกาะกาลาปากอส ประเทศเอกวาดอร์


อย่างไรก็ตามด้วยความอุดุมสมบูรณ์ชีวภาพทางทะเลและยังเป็นที่อยู่อาศัยของเหล่าสัตว์ทะเลหลายชนิดที่ไม่สามารถหาดูได้ที่อื่น จึงมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากอยากมาเยือนและสัมผัสความงามใต้ท้องทะเล ทำให้ชีวิตของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ถูกคุกคาม ส่งผลให้ความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมตกอยู่ในอันตราย รวมถึงภัยทางธรรมชาติอื่นๆ เช่นสภาวะโลกร้อน ดังนั้นกลุ่มนักสมุทรวิทยาจึงหาทางปกป้องและอนุรักษ์ธรรมชาติของหมู่เกาะนี้ และในปี 1988 ประเทศเอกวาดอร์ทำการก่อตั้งเขตอนุรักษ์ทางทะเลของหมู่เกาะกาลาปากอสขึ้น ซึ่งครอบคลุมพื้นที่กว่า 133,000 ตารางกิโลเมตรทั่วหมู่เกาะ ซึ่งถือว่ามีส่วนช่วยได้มากแต่ก็ยังไม่เพียงพอ  โดยซิลเวียกล่าวว่า “หากปกป้องหมู่เกาะกาลาปากอสไม่ได้ แล้วคุณจะสามารถปกป้องส่วนใดในโลกใบนี้ได้”



WATCH




1 / 4

เหล่าสัตว์ในบริเวณหมู่เกาะกาลาปากอส ประเทศเอกวาดอร์


2 / 4

เหล่าสัตว์ในบริเวณหมู่เกาะกาลาปากอส ประเทศเอกวาดอร์


3 / 4

เหล่าสัตว์ในบริเวณหมู่เกาะกาลาปากอส ประเทศเอกวาดอร์


4 / 4

เหล่าสัตว์ในบริเวณหมู่เกาะกาลาปากอส ประเทศเอกวาดอร์


ในปี 2010 ซิลเวียจึงเลือกให้หมู่เกาะกาลาปากอสเป็นพื้นที่ Hope Spot ภายใต้องค์กรอนุรักษ์มหาสมุทรแบบไม่แสวงผลกำไร Mission Blue ที่เธอได้ก่อตั้งร่วมกับแบรนด์นาฬิกา Rolex ภายใต้โครงการ Perpetual Planet Initiative ที่ดูแลและสนับสนุนในโครงการอนุรักษ์ธรรมชาติจากทั่วโลกเช่น โครงการปลูกปะการังคืนสู่แนวปะการัง การสำรวจลุ่มแม่น้ำสายสำคัญหลายทวีป หรือแม้แต่การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภัยคุกคามต่อเขตอาร์กติก ซึ่งโรเล็กซ์ได้ทำการสนับสนุนด้านอุปกรณ์และเครื่องมือทันสมัยเพื่อการสำรวจและวิจัยชีวภาพของหมู่เกาะกาลาปากอสได้แก่ เรือดำน้ำ DeepSee ที่ช่วยขยายขอบเขตการสำรวจความลึกในพื้นที่มหาสมุทร ทำให้เธอได้ค้นพบสาหร่ายเคลป์สายพันธุ์ใหม่ที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาเพื่อเป็นตัวอย่างในการอนุรักษ์พื้นที่มหาสมุทรอื่นๆ และการติดตั้งระบบวิดีโอใต้น้ำเพื่อสำรวจและเก็บ eDNA ของสัตว์หาดูยากที่ทิ้งร่องรอยทางดีเอ็นเอเอาไว้เช่นม้าน้ำและกุ้งก้ามกราม

1 / 3

เหล่านักสมุทรศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ขณะกำลังศึกษาและเก็บข้อมูลใต้ทะเลในบริเวณหมู่เกาะกาลาปากอส


2 / 3

เหล่านักสมุทรศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ขณะกำลังศึกษาและเก็บข้อมูลใต้ทะเลในบริเวณหมู่เกาะกาลาปากอส


3 / 3

เหล่านักสมุทรศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ขณะกำลังศึกษาและเก็บข้อมูลใต้ทะเลในบริเวณหมู่เกาะกาลาปากอส


นอกจากนี้องค์กร Mission Blue ยังดึงตัวนักวิทยาศาสตร์และนักสมุทรศาสตร์จากสถานบันชั้นนำอื่นๆ มาช่วยเหลือในการทำวิจัยเพื่อหาหนทางในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเลอีกแรง ถึงแม้ว่าโรเล็กซ์และองค์กรอื่นๆ อีกมากมายจะเริ่มลงมือป้องกันและอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างเข้มงวด แต่นี่เป็นแค่จุดเริ่มต้นและการสร้างประโยชน์ส่วนนึงที่มนุษย์สามารถทำได้เท่านั้น เราทุกคนควรมีส่วนช่วยเหลือในการลงมือและสนับสนุนการอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างจริงจังมากกว่านี้ก่อนที่มันจะสายเกินไป

1 / 3

เหล่านักสมุทรศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ภายใต้องค์กร Mission Blue ของ Rolex


2 / 3

เรือดำน้ำ DeepSee ขององค์กร Mission Blue


3 / 3

อุปกรณ์สำรวจใต้ทะเลขององค์กร Mission Blue


WATCH

คีย์เวิร์ด: #RolexMissionBlue