LIFESTYLE

ทำไมถึงเรียกสื่อว่า “Press” โว้กชวนไขคำตอบกับคำศัพท์สุดคลาสสิกที่บางคนอาจไม่เคยสงสัย

คำว่าสื่อสิ่งพิมพ์ในภาษาไทยอธิบายหลักการใช้คำสั้นๆ แทนสื่อตามหลักสากลได้อย่างชัดเจน

     คำว่า “สื่อ” มีความหมายโดยตรงเรื่องการสื่อสาร ทว่าคำในภาษาอังกฤษเราจะเห็นว่ามีการใช้คำกริยาว่า “Press” ซึ่งมีความหมายว่ากด หากพิจารณาตามคำแปลอย่างตรงไปตรงมาอาจดูไม่สมเหตุสมผล แต่แท้จริงแล้วความหมายโดยนัยนั้นมีมากกว่านั้น แม้คำนี้จะหมายถึงการกดทับจริงๆ แต่ความหมายที่นำเสนอผ่านชื่อเรียกสั้นๆ ของสื่อในภาษาอังกฤษก็มีรากฐานมาจากคำศัพท์คำนี้เช่นกัน และมันก็สะท้อนถึงวิถีการทำงานอันเป็นเอกลักษณ์ เชื่อไหมว่าคำนี้เกิดมาหลายศตวรรษแล้วด้วย

Johannes Gutenberg ผู้คิดค้นเครื่องพิมพ์คนแรกของโลก / ภาพ: Encyclopedia Britannica

     คำว่า “Press” เป็นคำนิยามที่พูดถึงสื่อสิ่งพิมพ์เป็นหลัก เนื่องจากคำนี้มีรากฐานประวัติศาสตร์จากสิ่งประดิษฐ์ฝีมือ Johannes Gutenberg หรือต้นแบบของเครื่องพิมพ์จากศตวรรษที่ 16 ซึ่งเครื่องดังกล่าวถูกนำมาใช้พิมพ์หนังสือพิมพ์และนิตยสารในเวลาต่อมา คำว่า “Printing Press” จึงถูกลดทอนสู่คำว่า “Press” และใช้เรียกสื่อสิงพิมพ์ที่ใช้วิธีการพิมพ์ประทับตามแบบฉบับดั้งเดิม แม้ยุคปัจจุบันจะไม่มีการพิมพ์รูปแบบดังกล่าวอีกแล้ว แต่คำนี้ก็ยังให้ความหมายเกี่ยวกับการประทับหมึกลงบนหน้าหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารตลอดไป




WATCH




     อิทธิพลจากยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้าจนเปลี่ยนโฉมสังคมโลก ไม่ได้มีเพียงวิถีการทำงานที่เปลี่ยนไปเท่านั้น แต่ยังหมายถึงแง่มุมทางวัฒนธรรมอันเป็นอมตะเหนือกาลเวลาก็ปรากฏขึ้นในยุคนี้เช่นกัน เชื่อว่าทุกคนคุ้นชินกับคำว่า “Press” จนอาจมองข้ามที่จะหาคำตอบรากฐานที่มาของมันไปแล้ว วันนี้โว้กในฐานะสื่อแฟชั่นหรือที่ถูกเรียกว่า “Fashion Press” มาโดยตลอดจึงถือโอกาสมาถ่ายทอดเรื่องราวความรู้เล็กน้อยเกี่ยวกับรากฐานเชิงภาษาและสังคมวัฒนธรรม ซึ่งเมื่ออธิบายเสร็จก็เกิดคำถามตามมาว่าทำไมบางครั้งถึงไม่เรียกสื่อว่า “Press” แต่เรียกว่า “Media” แทน คำตอบนั้นหาจากสิ่งที่กล่าวไปคือคำนี้ถูกใช้สำหรับสื่อสิ่งพิมพ์เท่านั้น ส่วนรายการโทรทัศน์ วิทยุ และสื่ออีกหลายรูปแบบจึงไม่จัดอยู่ในประเภทเดียวกัน ถึงแม้จะมีการเหมารวมเวลาทำงานสังเกตได้จากคำว่า “Press Conference” หรือ “Press Kits” ทั้งหมดมีรากฐานจากสื่อสิ่งพิมพ์ที่ยังคงมีอิทธิพลจนถึงปัจจุบัน และสามารถใช้เรียกแทนกลุ่มสื่อได้ในบริบทหนึ่งเพื่อความสะดวก ไม่ใช่การระบุชัดเจนถูกต้องตามหลัก

WATCH