first-pride-parade-history-masha-p-johnson-sylvia-rivera
LIFESTYLE

เปิดประวัติความเป็นมาของ ‘Pride Parade’ และ ‘Marsha P. Johnson’ วีรชนทรานส์ผู้พานำเดินเป็นครั้งแรก

Marsha P. Johnson หนึ่งวีรชนสำคัญจากเหตุการณ์จลาจล ณ เกย์บาร์ ‘Stonewall’ กับการบุกรุกของเหล่าตำรวจกว่า 200 นายกับการใช้กำลังทำร้ายร่างกายและทำลายพื้นที่ปลอดภัยของชาว LGBTQIA+ จุดชนวนให้เกิด Pride Parade เพื่อเรียกร้องสิทธิและความเท่าเทียมทางเพศ

เดือนมิถุนายนของทุกปีคือเดือนแห่ง Pride Month ที่เหล่าชาว LGBTQIA+ และพันธมิตรร่วมใจกันเฉลิมฉลองให้กลับกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ รวมถึงการเรียกร้องสิทธิในด้านความเท่าเทียมทางเพศตลอดทั้งเดือน และหนึ่งกิจกรรมไฮไลต์ที่สำคัญคือการเดินขบวนพาเหรดอย่าง ‘Pride Parade’ ที่เกิดขึ้นในเมืองหลักหลายประเทศทั่วโลก โดยประเทศไทยได้จัดงานนี้เป็นครั้งแรกภายใต้ชื่อ ‘บางกอกนฤมิตรไพรด์’ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี เต็มเปี่ยมไปด้วยความสนุกสนานรวมถึงการจัดปาร์ตี้สังสรรค์ แต่กว่าจะมาถึงวันนี้ จุดเริ่มต้นของไพรด์ต้องแลกมาด้วยเลือดจากการต่อสู้เพื่อจุดยืนในสังคมและความเท่าเทียมของการเป็นมนุษย์จากสังคมและเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ ด้วยแรงของวีรชนรุ่นบุกเบิกรวมถึง Marsha P. Johnson หนึ่งในผู้นำของการเคลื่อนไหวทางสังคมระดับตำนาน

pride-parade-america

1 / 2

ภาพบรรยากาศจากขบวนเหรด Pride Parade ในประเทศสหรัฐฯ


pride-parade-america

2 / 2

ภาพบรรยากาศจากขบวนเหรด Pride Parade ในประเทศสหรัฐฯ


ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1969 ณ บาร์เกย์ชื่อดัง ‘The Stonewall Inn’ ตั้งอยู่บนถนนคริสโตเฟอร์ ชุมชนกรีนวิช ณ เมืองนิวยอร์ก เป็นหนึ่งในพื้นที่ปลอดภัยของเหล่าชาว LGBTQIA+ เนื่องจากเป็นช่วงยุคที่การเป็นเพศทางเลือกยังไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม ระหว่างที่ทุกคนกำลังสังสรรค์กัน ตำรวจกว่า 200 นายได้บุกเข้ามาก่อจลาจล โดยการทำลายข้าวของในบาร์รวมถึงการใช้อาวุธทำร้ายร่างกายชาว LGBTQIA+ และพันธมิตรอย่างรุนแรง โดยมุ่งเป้าไปที่ชาวผิวสี (People of Colors) และผู้ที่แสดงความเป็นเควียร์ (Queer) นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่สังคมและผู้มีอำนาจได้ใช้กำลังเพราะการเหยียดเพศ แต่คืนนั้นเป็นครั้งแรกที่ชาวสีรุ้งต่อสู้กลับโดยการใช้อิฐและหินปาใส่ตำรวจในชุดเกราะและอาวุธเต็มมือ

 



WATCH




1 / 4

ภาพบาร์ 'The Stonewall Inn' ในช่วงยุคปี 60s


2 / 4

ภาพจากเหตุการณ์จลาจลที่บาร์สโตนวอลในปี 1969


3 / 4

ภาพจากเหตุการณ์จลาจลที่บาร์สโตนวอลในปี 1969


4 / 4

ภาพจากเหตุการณ์จลาจลบาร์สโตนวอลในเมืองนิวยอร์ก ปี 1969


การจลาจลครั้งใหญ่นี้ลากยาวมาถึง 6 วัน นับได้ว่าเป็นการสู้กลับเพื่อเรียกร้องสิทธิและความเท่าเทียมในการเป็นมนุษย์ของชาว LGBTQIA+ นำทีมโดยวีรชนแดร็กควีนเลื่องชื่อ ‘Marsha P. Johnson’ ทรานส์เจนเดอร์ผู้จุดชนวนการเคลื่อนไหวครั้งนี้ ผู้ที่จะไม่ถอยหลังให้กับการกระทำเหยียดเพศและสีผิวของสังคม วีรกรรมของเธอและชาวสีรุ้งในครั้งนี้สร้างแรงบันดาลใจและพลังให้กับเยาวชนกล้าออกมาประกาศเพศของตนรวมถึงจุดยืนที่ชัดเจน ก่อให้เยาวชนสีรุ้งจำนวนมากถูกไล่ออกจากบ้านและถูกปฏิเสธการยอมรับจากครอบครัว

1 / 4

Masha P. Johnson ทรานส์เจนเดอร์ แดร็กควีน และนักเคลื่อนไหวทางสังคม


2 / 4

ภาพระหว่างช่วงเหตุการณ์จลาจลบริเวณสวนสาธารณะข้างหน้าบาร์สโตนวอล


3 / 4

ภาพระหว่างช่วงเหตุการณ์จลาจลบริเวณสวนสาธารณะข้างหน้าบาร์สโตนวอล


4 / 4

Masha P. Johnson ทรานส์เจนเดอร์ แดร็กควีน และนักเคลื่อนไหวทางสังคม


ดังนั้นมาร์ชาและเพื่อนทรานส์เจนเดอร์ของเธอ ‘Sylvia Rivera’ ได้ก่อตั้งมูลนิธิในชื่อ STAR หรือ Street Transvestite Action Revolutionaries เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนเยาวชนสีรุ้งผู้ไร้บ้านจากการถูกเหยียดบ้าน ในปี 1970 พวกเขาและองค์กร E.C.H.O ผู้สนับสนุนรักร่วมเพศระดับภูมิภาค จับมือกันจัดงานพาเหรด ‘Christopher Street Liberation’ เป็นครั้งแรกเพื่ออุทิศให้กับเหตุการณ์จลาจลที่บาร์สโตนวอล กับปรากฏการณ์สร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่เป็นพลังให้ชาวสีรุ้งลุกขึ้นสู้เพื่อตัวเอง มีผู้ร่วมเดินพาเหรดกว่าหลายพันคน ครอบคลุมถนนทั้ง 15 ช่วงตึกในเมืองนิวยอร์ก รวมถึงการจัดงานในเมืองลอสแอนเจลิส และเมืองชิคาโก ทำให้เกิดเป็นประเพณี Pride Month เพื่อสืบสานเจตนารมณ์นี้ต่อตลอดมา

1 / 3

ภาพบรรยากาศการเดินพาเหรด Pride Parade เป็นครั้งแรกในปี 1970


2 / 3

ภาพบรรยากาศการเดินพาเหรด Pride Parade เป็นครั้งแรกในปี 1970


3 / 3

ภาพบรรยากาศการเดินพาเหรด Pride Parade เป็นครั้งแรกในปี 1970


แต่อย่างไรก็ตาม ความเป็นธรรมก็ไม่ได้มาอย่างง่ายดาย เมื่อทางผู้จัดงานพาเหรดในปี  1973 ตั้งกฎเพื่อกีดกันไม่ให้แดร็กควีนและทรานสเจนเดอร์มาเป็นส่วนหนึ่งของงานแม้แต่ผู้ริเริ่มอย่างมาร์ชาและซิลเวีย แต่ทั้งสองก็ได้เพิกเฉยต่อ ‘การเหยียดความเป็นเพศหญิง’ (Femmephobia) แม้แต่จากเกย์หรือเพศทางเลือกด้วยกันเอง พวกเธอได้แทรกเขาไปเดินนำข้างหน้าขบวนอย่างภาคภูมิใจและไม่ได้สนกฎเกณฑ์ แต่เลือกทำในสิ่งที่ถูกต้องและเป็นธรรมมากกว่า

1 / 2

Masha P. Johnson และ Sylvia Rivera


2 / 2

Masha P. Johnson ในขบวนพาเหรด Pride Parade


ถึงแม้ว่าการเฉลิมฉลองและต่อสู้เพื่อสิทธิของชาว LGBTQIA+ ก็ดำเนินต่อเนื่องอย่างแข็งแรงมาหลายปี แต่การเหยียดเพศ การเหยียดความเป็นเพศหญิง เหยียดสีผิว และฐานะทางสังคมภายในสังคมยังมีอยู่มาก ในปี 1992 มาร์ชาได้ถูกประกาศเป็นบุคคลสูญหาย และคืนก่อนหน้านี้มีคนพบเห็นเธอโดนรังแกและล้อเลียนในการเป็นคนข้ามเพศผิวสี หลังจากนั้นเพียงไม่กี่วันตำรวจได้พบศพของเธอลอยอยู่ในแม่น้ำฮัดสัน ถึงแม้คดีนี้จะถูกเปิดสอบสวนอีกครั้งในปี 2012 แต่ทางตำรวจยังคงคำตัดสินทางคดีว่ามันคือการฆ่าตัวตาย แต่หลายคนเชื่อว่าสาเหตุการตายของเธอคือ ‘Hate Crime’

masha p johnson

Masha P. Johnson 

ด้วยเหตุการณ์นี้ทำให้ผู้คนออกมาเรียกร้องความเท่าเทียมทางเพศมากกว่าเดิม โดยให้ความสำคัญต่อทุกเพศสภาพ ทุกจุดยืน และทุกสีผิวอย่างแท้จริง ในปี 2019 ทางรัฐนิวยอร์กได้ก่อตั้งรูปปั้นของมาร์ชาและซิลเวียไว้ตรงหน้าบาร์สโตนวอลเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่วีรชนคนสำคัญของการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อชาว LGBTQIA+ และได้เปลี่ยนชื่อแม่น้ำ East River State Park ในเมืองบรูคลินเป็น Masha P. Johnson State Park อีกด้วย

1 / 2

รูปปั้นอนุสรณ์ของ Masha P. Johnson หน้าบาร์สโตนวอล


2 / 2

ภาพของ The Stonewall Inn ในปัจจุบัน ซึ่งยังเปิดให้บริการอยู่


ในปัจจุบันสถานะของความเท่าเทียมทางเพศได้พัฒนามาไกลกว่าจุดเดิมมาก มีมูลนิธิเพื่อชาวสีรุ้งเกิดขึ้นมากมายทั่วโลก และมี 30 ประเทศที่ผ่านกฎหมายการแต่งงานเพศเดียวกัน รวมถึงมีการเคลื่อนไหวทางสังคมและแฮชแท็กต่างๆ ของเหล่าผู้กล้าชาว LGBTQIA+ และพันธมิตรอีกมากมาย แต่หนทางยังอีกยาวไกลกับการเรียกร้องความเท่าเทียมและสิทธิทางเพศ และการสร้างความเคารพให้กับทุกคนที่แตกต่าง ไม่ว่าเขาจะแสดงตัวตนเป็นเพศสภาพไหน ทุกคนควรอยู่ในสังคมด้วยความรู้สึกปลอดภัยอย่างเท่าเทียม

ธงสายรุ้งของชาว LGBTQIA+

ข้อมูลและภาพ : Women & The American Story และ National Geographic
ภาพ : History, Smithsonian และ New York Times

WATCH