haute-couture-france-soft-power
LIFESTYLE

Haute Couture ศิลปะชั้นสูงแห่งโลกแฟชั่น..."Soft Power" สำคัญของประเทศฝรั่งเศส

เจ้าพ่อแฟชั่น Karl Lagerfeld แห่ง Chanel กล่าวว่า “ประเทศอื่นเขามีรถ แต่ประเทศฝรั่งเศสเรามีแฟชั่นชั้นสูงและฝีมือการตัดเย็บที่ดีที่สุด” ด้วยประวัติศาสตร์และสิ่งแวดล้อมทำให้ศิลปะด้านเครื่องแต่งกายเป็น Soft Power ของฝรั่งเศส

เป็นที่รู้จักดีทั่วโลกว่าฝรั่งเศสเป็นหัวเมืองหลักและโด่งดังในอุตสาหกรรมแฟชั่น แม้ประเทศและทวีปอื่นๆ จะมีชื่อเสียงและความสามารถในการสร้างสรรค์ชั้นเยี่ยม แต่ฝรั่งเศสเป็นประเทศแรกที่บัญญัตินิยามและสถาบัน Haute Couture หรือการรังสรรค์เสื้อผ้าชั้นสูง เจ้าพ่อดีไซเนอร์แห่งตำนานแฟชั่นอย่าง Karl Lagerfeld ได้กล่าวว่า “ประเทศอื่นเขามีรถ แต่ประเทศฝรั่งเศสเรามีแฟชั่นชั้นสูงและฝีมือการตัดเย็บที่ดีที่สุด” เผยนัยยะถึงเรื่องเศรษฐกิจและความดีเด่นทางด้านภูมิปัญญาของประเทศอื่น ซึ่งอาจจะประกอบด้วยทรัพยากรและภูมิศาสตร์ทำให้แต่ละประเทศโดดเด่นแตกต่างกัน ด้วยความมุ่งมั่นในการพัฒนานวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ บวกกับความเชี่ยวชาญในวิชาโอตกูตูร์ที่ยาวนานนับร้อยปี ทำให้ฝรั่งเศสไม่แพ้ใครในเรื่องแฟชั่น รวมถึงความสำคัญของพลังในการสร้างจุดยืนและเป็นหนึ่งในแกนหลักด้านเศรษฐกิจของประเทศโดยการใช้หัตถศิลป์เป็นเครื่องพิสูจน์

elite-chanel-suit-group

ผู้หญิงชาวฝรั่งเศสสวมใส่ชุดจาก Chanel ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20

ย้อนกลับไปในปีค.ศ. 1958 ดีไซเนอร์ชาวอังกฤษ Charles Frederick Worth ย้ายถิ่นฐานเข้ามาในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส กับเป้าหมายที่อยากสร้างห้องเสื้อในเมืองที่ให้ความสนใจด้านรสนิยมการแต่งตัว หลังจากนั้นไม่นานห้องเสื้อของเขาก็ได้ชื่อว่าเป็นบ้านโอตกูตูร์แห่งแรกของประวัติศาสตร์ โดยรับตัดชุดส่วนบุคคลให้กับผู้หญิงชั้นสูงในสังคม เป็นผลงานที่เต็มไปด้วยความละเมียดจากเทคนิคที่มีชั้นเชิง รวมถึงระยะเวลาในการสร้างสรรค์ หลังจากได้เสียงตอบรับและประสบความสำเร็จ มาเป็นเวลา 10 ปี องค์กร “Chambre Syndicale de la Haute Couture” ถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อผลักดันและส่งเสริมให้ประเทศฝรั่งเศสโดดเด่นเรื่องวัฒนธรรมการสร้างสรรค์แฟชั่นชั้นสูง หรือเป็นที่รู้จักในปัจจุบันด้วยชื่อ The Federation de le Haute Couture et de la Mode (FHCM) โดยองค์กรได้สร้างระเบียบข้อบังคับและกฎเกณฑ์ด้านคุณสมบัติในการเป็นห้องเสื้อเทคนิคโอตกูตูร์ ด้วยความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์เสื้อผ้าชั้นสูงของเหล่าศิลปินและดีไซเนอร์ ทางประเทศฝรั่งเศสได้ก่อตั้ง  L’Association de Protection des Industries Artistiques Saisonnieres (PAIS) เพื่อเป็นการปกป้องลิขสิทธิ์ของผลงานโอตกูตูร์แต่ละชิ้น โดยการบันทึกภาพและจารึกรายละเอียดทางเทคนิคอย่างเป็นทางการ จึงเป็นเหตุให้ห้องเสื้อชั้นสูงแบบโอตกูตูร์มีไม่กี่แบรนด์บนโลก



WATCH




charles-frederick-worth

1 / 2

Charles Frederick Worth ผู้ก่อตั้งห้องเสื้อแบบโอตกูตูร์คนแรกของโลก


house-of-worth

2 / 2

ผลงานจาก House of Worth ซึ่งเป็นห้องเสื้อโอตกูตร์แห่งแรกของโลก


หลังจากการผ่านสงครามโลกครั้งที่ 1 ชาเนลเป็นห้องเสื้อชั้นสูงอันดับต้นที่รอดชีวิตและยังเป็นที่ต้องการของชาวฝรั่งเศสและผู้หญิงทั่วโลกด้วยดีไซน์แก่นและฉีกขนบในสมัยนั้น สูทสองชิ้นทรงตรงที่สั้นกว่าจารีตช่วยเสริมพลังให้กับผู้หญิงให้มีความมั่นใจ คล่องตัวและเพิ่มความเท่าเทียมในโลกที่ชายเป็นใหญ่ในสังคม ตามมาด้วยการนำเสนอลุคใหม่หรือ The New Look ซึ่งเป็นผลงานคอลเล็กชั่นโอตกูตูร์ชุดแรกของ Dior กับดีไซน์ไหล่มนกลม เข้ารูปเอวและกระโปรงวอลลุ่มบาน เน้นสรีระธรรมชาติแบบนาฬิกาทราย ซึ่งเปลี่ยนการแต่งตัวของผู้หญิงไปตลอดกาลในช่วงยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ห้องเสื้อหลักทั้งสองเป็นอีกหนึ่งแกนหลักที่ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจและชื่อเสียงของฝรั่งเศสกลับมาอีกครั้ง ตามมาด้วยห้องเสื้อชั้นสูงชื่อดังในศตวรรษที่ 20 อย่าง Yves Saint Laurent, Givenchy, Balmain และ Jean Paul Gaultier เป็นต้น ช่วยสมทบพลังการสร้างสรรค์ผลงานประณีตอันเยี่ยมยอดเพื่อครองตำแหน่งอันดับหนึ่งของโลกแฟชั่นทั่วโลก

chanel-haute-couture

1 / 4

Coco Chanel ระหว่างการฟิตติ้งสำหรับคอลเล็กชั่น Haute Couture


the-new-look-haute-couture-dior

2 / 4

The New Look และผลงานโอตกูตูร์ของ Christian Dior ในสมัยช่วงกลางศตวรรษที่ 20


givenchy-haute-couture

3 / 4

Hubert de Givenchy และ Audrey Hepburn กับผลงานโอตกูตูร์ของ Givenchy


yves-saint-laurent-couture-haute

4 / 4

Yves Saint Laurent กับผลงานในตำนานของเขา


ด้วย Soft Power ของเหล่าศิลปินและดีไซเนอร์ ก่อให้เกิด Hard Power ตามมาในภายหลัง การรวมพลังของทั้งด้านฝีมือศิลปะด้านแฟชั่นและการสนับสนุนของรัฐบาลทำให้ประเทศฝรั่งเศสบรรลุผลของเศรษฐกิจที่รุ่งเรือง ฝ่ายการสร้างสรรค์และพัฒนาด้านแฟชั่นของฝรั่งเศสเพียงฝ่ายเดียวสามารถกวาดรายได้ไปมากกว่า 45 ล้านเหรียญยูโรต่อปี และถ้ารวมแบรนด์เครืออื่นที่อยู่ภายใต้การดูแลของฝรั่งเศสทำให้รายได้เพิ่มสูงขึ้นมาถึง 67 ล้านเหรียญยูโร มากไปกว่านั้นผลประกอบการจากปารีสแฟชั่นวีกโดยตรงก็สามารถนำรายได้เข้าประเทศกว่า 400 ล้านเหรียญยูโร ยังไม่นับการเป็นศูนย์รวมการท่องเที่ยวและธุรกิจอื่นที่ได้ผลประโยชน์ในช่วงเทศกาลปารีสแฟชั่นวีกที่สามารถทำรายได้มากกว่า 1 พันล้านเหรียญยูโรต่อฤดูกาล ถือว่าเป็นชัยชนะประเทศในการส่งเสริมทั้งด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรม ซึ่งสามารถยืดอายุของศิลปะการสร้างผลงานชั้นสูงอย่างโอตกูตูร์ ให้ยืนยาวและคงชื่อเสียงด้านการเป็นที่หนึ่งในด้านแฟชั่นของฝรั่งเศส

jean-paul-gaultier-haute-couture-collection

1 / 4

ผลงานโอตกูตูร์ของ Jean Paul Gaultier ศิลปินแห่งชาติของฝรั่งเศส


dior-paris-fashion-week

2 / 4

แฟชั่นโชว์ของ Dior Spring/Summer 2022 ในปารีสแฟชั่นวีก


chanel-paris-fashion-week

3 / 4

แฟชั่นโชว์ของ Chanel Spring/Summer 2022 จากปารีสแฟชั่นวีก


paris-fashion-week

4 / 4

บรรยากาศงานปารีสแฟชั่นวีกในปัจจุบัน


WATCH

คีย์เวิร์ด: #SoftPower #HauteCouture #France