WELLNESS

Social Detox! เผย 8 ทิปส์และกิจกรรมดีๆ เมื่ออยากพักจากการเล่นโซเชียล

เมื่อโซเชียลมีผลต่อสุขภาพจิต อาจถึงเวลาต้องดีท็อกซ์!

     ในยุคที่โซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือในการเชื่อมต่อผู้คนในโลกออนไลน์ แม้มีข้อดีมากมายแต่การเล่นมากเกินความจำเป็นอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตและจิตใจของเราได้ สิ่งที่เราพบเห็นในโซเชียลมีเดียเต็มไปด้วยโฆษณา รวมถึงสื่อที่ทำให้เกิดความรู้สึกเศร้า โกรธ เครียด หรือวิตกกังวล ส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตได้อย่างคาดไม่ถึง รวมถึงยังทำให้สมาธิสั้นอีกด้วย แล้วถ้าไม่เล่นโซเชียลจะทำอะไรดี โว้กบิวตี้จึงขอชวนทุกคนมาโซเชียลดีท็อกซ์ (Social Detox) เบรกสายตาจากหน้าจอ แล้วมาทำกิจกรรมอื่นแทนกันดีกว่า

 

 

1. ส่งมือถือเข้านอนก่อน

     อาจจะฟังดูแปลกในการส่งมือถือเข้านอน แต่ความจริงแล้วหมายถึงการงดกิจกรรมทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ที่มีโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ หรือ คอมพิวเตอร์ โดยหยุดเล่นอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงก่อนเข้านอน แล้วใช้เวลาอันมีค่านั้นพักผ่อนกับสิ่งอื่นแทน เช่น อ่านหนังสือ หรือจะเข้านอนเร็วกว่าปกติก็ได้

 

 

2. ปลุกเช้าวันใหม่ด้วยนาฬิกาปลุกจริงๆ

     เพื่อหลีกเลี่ยงการเล่นโซเชียลมีเดียตั้งแต่ตื่นลืมตา ลองใช้นาฬิกาปลุกจริงๆ แทนนาฬิกาปลุกในโทรศัพท์ เพราะมันมีส่วนไปกระตุ้นให้เราอยากเลื่อนหน้าจอทันทีที่ตื่นนอน ลองเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ หันไปชมพระอาทิตย์ขึ้นนอกหน้าต่าง เดินเล่นยืดเส้นยืดสาย หรือเพลิดเพลินไปกับชาหรือกาแฟและอาหารเช้าตรงหน้า

 



WATCH



 

3. ลบแอปฯ โซเชียลมีเดีย

     การลบแอปฯ โซเชียลมีเดียออกจากเครื่องอาจเป็นเรื่องยากสำหรับบางคน แต่เราไม่ได้บอกให้ลบแอปฯ อย่างถาวรสักหน่อย เพียงแต่ให้ลบชั่วคราวเท่านั้น เพราะอย่างไรแล้วคุณก็สามารถติดตั้งมันใหม่ได้ง่ายๆ อยู่ดี การลบแอปฯ นี้จะช่วยเบี่ยงเบนความสนใจไปที่อย่างอื่นแทน จากเดิมที่มือถือจะถูกหยิบขึ้นมาทุกครั้งที่มีเวลาว่างเพียงเล็กน้อย ไม่ว่าจะพักจากงานหรือต่อแถวเข้าคิว การลบแอปฯ ออกจะช่วยหยุดวงจรนี้ไปได้ 

 

 

4. แทนที่ด้วยงานอดิเรกหรือกิจกรรมใหม่ๆ

     โซเชียลมีเดียอาจทำให้หมดพลังงานและกินเวลาว่างไปมากโดยไม่รู้ตัว โดยเฉลี่ยคนทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง 24 นาทีต่อวันที่หมดไปกับโซเชียลมีเดียเพียงอย่างเดียว จะดีกว่าไหมถ้าเอาเวลาช่วงนั้นไปทำงานอดิเรกและการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ แทน เช่น หัดเล่นดนตรี ทำสวนนอกบ้าน หรือทำอาหาร 

 

 

5. หยุดนิสัยหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาดูตลอดเวลา

     หากพบว่าตัวเองติดนิสัยหยิบโทรศัพท์มือถือเมื่อมีเวลาว่างตลอด นี่เป็นพฤติกรรมที่มักเกิดจากความวิตกกังวลว่าจะพลาดอะไรใหม่ๆ การจะเลิกนิสัยที่ไม่ดีนี้อาจเป็นเรื่องยาก แนะนำให้เริ่มทีละเล็กละน้อย ด้วยการวางโทรศัพท์ไว้อีกห้องหนึ่งเมื่อทำงาน หรือเมื่อออกไปเที่ยวนอกบ้านให้ปิดการแจ้งเตือน เอนจอยกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า และตั้งค่าหน้าจอให้มืดลง เพราะสีและภาพที่ฉูดฉาดมักเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้เราเล่นโทรศัพท์

 

 

7. ชื่นชมสิ่งรอบตัวให้มากขึ้น

     แทนที่จะมองหน้าจอโทรศัพท์มือถือ ลองใช้เวลาเดียวกันนี้ชื่นชมสิ่งรอบตัวให้มากขึ้นและเพลิดเพลินไปกันมัน ไม่ว่าจะเป็นมองวิวข้างทางขณะนั่งรถไฟฟ้า หรือนั่งชมบรรยากาศของสัตว์และผู้คนในสวนสาธารณะ เมื่อทำเช่นนี้ไปสักพักจะพบว่าความงามบนโลกนี้มีมากกว่าที่คิด เพียงละสายตาจากหน้าจอเสียบ้าง 

 

 

8. สำรวจเวลาในการใช้งานโซเชียลมีเดีย

     โดยทั่วไปแล้ว ไม่ว่าจะ iPhone หรือ Android จะมีฟังก์ชั่นคอยติดตามและประมวลเวลาที่เราใช้โซเชียลมีเดียในแต่ละวัน ลองตรวจสอบสถิติเหล่านี้หลังจากทำโซเชียลดีท็อกซ์และหันไปทำกิจกรรมอื่นๆ ทดแทนไปแล้ว 30 วัน ผลลัพธ์ที่ได้จะทำให้เราเห็นพัฒนาในการลดละเลิกโซเชียล และช่วยกระตุ้นให้เราลดการเสพติดโซเชียลมีเดียได้ไปทีละขั้น

 

     โซเชียลดีท็อกซ์เป็นเหมือนการล้างพิษให้กับสมองและจิตใจ ช่วยลดผลกระทบที่เกิดจากการเสพสื่อในโซเชียลมีเดียมากเกินไป ประโยชน์ที่ได้คือสมองที่ปรอดโปร่ง จิตใจที่แจ่มใส รวมถึงยังลดโอกาสการเกิดอาการสมาธิสั้น และที่สำคัญที่สุดคือช่วยให้เราใช้ชีวิตได้อย่างมีสติมากขึ้น

 

WATCH

คีย์เวิร์ด: #SocialDetox