FASHION

คัมภีร์ซักผ้า! สัญลักษณ์บนป้ายเสื้อผ้าแปลว่าอะไรบ้าง เช็คด่วนถ้าไม่อยากซักผิด

เปิดป้ายแคร์แท็กทุกประเภทตั้งแต่กระบวนการซักยันตากเพื่อรักษาสภาพเสื้อผ้าให้สมบูรณ์ที่สุด

     เคยสงสัยกันไหมว่าสัญลักษณ์มากมายก่ายกองบริเวณแคร์แท็กใต้เสื้อผ้าของสาว ๆ มันหมายความว่าอะไรบ้าง รูปทรงแปลกประหลาด ตัวเลข สัญลักษณ์หรือแม้กระทั่งตัวอักษรต่าง ๆ ล้วนเคยทำให้มึนงงกับการดูแลรักษามาแล้ว ยิ่งเสื้อผ้าแพงก็คงไม่อยากให้มันพังเพียงเพราะเราดูแลผิดวิธีใช่ไหม? ถ้าใช่วันนี้เรามีคำตอบมาให้ว่าเจ้าสัญลักษณ์มากมายเหล่านี้มันหมายความว่าอย่างไรกันแน่ แล้วเสื้อตัวโปรด กระโปรงตัวรักหรือแม้แต่เดรสคู่ใจจะไม่ทำให้เสียน้ำตาเพราะพังจากการดูแลผิดวิธีอีกต่อไป... โดยบทความชิ้นนี้จะนำเสนอแคร์แท็กของอเมริกันเป็นหลักพร้อมสอดแทรกแคร์แท็กที่สาว ๆ จำเป็นต้องรู้ของภูมิภาคอื่นไว้ด้วย

 

Wash

1 / 3



2 / 3

แบบยุโรป / ภาพ: unixtitan


3 / 3

สัญลักษณ์ความนุ่มนวลและอุณหภูมิแบบยุโรป / ภาพ: Signs & Symbols


     เริ่มกันที่การซักผ้ากันเลย แน่นอนว่าการซักนั้นมีหลากหลายปัจจัยที่ชุดและเนื้อผ้าแต่ละชนิดมีจุดเหมาะสมแตกต่างกันทั้งเรื่องของอุณหภูมิ ความนุ่มนวล ไปจนถึงรูปแบบการซัก สมัยนี้เน้นความสะดวกก็คงจะมองหาเครื่องซักผ้านั่นคือเรื่องง่ายที่สุดในการทำความสะอาดชุดแต่ในอีกทางหนึ่งต้องบอกว่าต้องใส่ใจกับความละเอียดของเสื้อผ้าด้วยเพราะตามป้ายการดูแลนั้นมีระบุไว้อย่างชัดเจนทั้งฝั่งอเมริกา ยุโรป จีนและญี่ปุ่นคือรูปสัญลักษณ์คล้ายอ่างใส่น้ำมีขีดข้างใต้ยิ่งขีดเยอะก็หมายถึงความนุ่มนวลในการซักมากไปจนถึงการซักมือ การซักยังไม่หมดยังมีเรื่องของอุณหภูมิที่ส่วนมากจะระบุไว้ชัดเจนเป็นตัวเลขมากสุดที่สามารถใช้ได้ แต่ถ้าเป็นฝั่งอเมริกาอาจจะยากสักหน่อยเพราะจะระบุเป็นจุดดำ ๆ 6 จุดหมายถึง 95 องศาเซลเซียส และ 70, 60, 50 และ 40 ลดจำนวนจุดลงมาเรื่อย ๆ จนเหลือ 1 จุดซึ่งหมายถึง 30 องศาเซลเซียส รู้เท่านี้ก็เรียกได้ว่าซักผ้าถูกแบบไม่กลัวชุดพังแล้ว

 

Bleach



WATCH




     การฟอกสีผ้าโดยการใช้ผงซักฟองก็ไม่ใช่ว่าทำอย่างไรก็ได้เพราะในป้ายการดูแลรักษาระบุไว้เสมอว่าจะเนื้อผ้าของชุดเหมาะกับผงซักฟอกแบบใด หลัก ๆ สัญลักษณ์จะเหมือนกันทั้งโลกคือรูปสามเหลี่ยมว่างเปล่าหมายถึงการใช้แบบใดก็ได้ มีตัวอักษร CI หมายถึงต้องใช้ผงซักฟอกที่มีเบสเป็นคลอรีน ขีด 3 เส้นหมายถึงปราศจากคลอรีน และสุดท้ายคือเครื่องหมายกากบาททับนั่นหมายความว่าห้ามใช้ผงซักฟอกเด็ดขาด โดยสมัยก่อนญี่ปุ่นมีสัญลักษณ์บ่งบอกการใช้ผงซักฟอกเป็นรูปขวดทอดลองแต่ภายหลังเปลี่ยนมาเป็นสัญลักษณ์แบบเดียวกับสากลโลกเรียบร้อยแล้ว

 

Iron

     การรีดผ้าก็สำคัญไม่แพ้เรื่องอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุณหภูมิในการรีดซึ่งทั่วโลกให้ความสำคัญอย่างมาก จากรูปสไตล์อเมริกันซึ่งเป็นบรรทัดฐานทั่วให้ทั่วโลกได้จะเห็นได้ว่ารูปเตารีดจะมีจุดซึ่งแสดงผลคล้ายกับอุณหภูมิน้ำในการซักเริ่มจากเท่าไหร่ก็ได้ จุดเยอะคืออุณหภูมิสูง กลาง ต่ำ และไม่ต้องรีด แต่ที่พิเศษคือสัญลักษณ์กากบาทใต้เตารีดซึ่งหมายถึงไม่สตีมหรือไม่ใช้ไอน้ำในการรีดนั่นเอง โดยที่ทั่วโลกถือหลักสากลเหมือนกันเหมือนเพียงแต่คำว่า “สูง กลาง ต่ำ” ถูกระบุอย่างชัดเจนเช่น 200  150 และ 100 องศาเพิ่มเติมตามลำดับ

 

Dry Clean

1 / 2



2 / 2

สัญลักษณ์เพิ่มเติมจากฝั่งยุโรป / ภาพ: europosters


     ต้องบอกว่านี่คือเรื่องไกลตัวสำหรับการซักผ้าบ้าน ๆ ของเราแล้ว แต่รู้ไว้ไม่เสียหายเพราะหลายครั้งเราลงทุนกับเสื้อผ้าแต่ละชุดในราคาไม่ธรรมดา การซักแห้งจึงมีความสำคัญอย่างน้อยเราก็สามารถกำชับร้านได้ว่าเสื้อผ้ามูลค่าสูงทั้งราคาและจิตใจแบบนี้ควรจะดูแลรักษามันเช่นไร อย่างแรกคือการแบ่งสารเคมีตัวทำละลายที่ใช้ในกระบวนการเริ่มตั้งแต่ตัว A ซึ่งหมายถึงใช้แบบไหนก็ได้ อักษร P หมายถึงใช้อะไรก็ได้ยกเว้นไตรคลอโรเอทีลีนสารที่มักใช้ในอุตสาหกรรมโรงงาน อักษร F หมายถึงปิโตรเลียมเท่านั้นและสุดท้ายเครื่องหมายกากบาทหมายถึงห้ามทำการซักแห้งโดยเด็ดขาด ส่วนสัญลักษณ์เครื่องหมายกลม ๆ มีขีดตามด้านต่าง ๆ แสดงถึงการใช้ความร้อนและไอน้ำในกระบวนการ เริ่มตั้งแต่ไม่ใช้ไอน้ำ ความร้อนต่ำ ชอร์ตไซเคิล ไปจนถึงการลดความชื้นจากเนื้อผ้า ทั้งหมดคือกระบวนครบถ้วนตามสัญลักษณ์แบบอเมริกัน

 

     นอกจากของฝั่งอเมริกาแล้วยุโรปกับทางจีนกลับมีเหมือนกันซึ่งแตกต่างกับทางซีกโลกอเมริกาพอสมควร ด้วยตัวอักษร W บ่งบอกให้ซักเปียก ซักด้วยน้ำหรือ Wet Cleaning ส่วนตัว F หมายถึงการใช้ไฮโดรคาร์บอน และ P หมายถึงใช้สารเคมีตามลิสต์ตัว F และเตตระคลอโรเอทิลีน สารที่ใช้สำหรับการดูแลรักษาเนื้อผ้าโดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังมีความนุ่มนวลในเรื่องของกระบวนการตั้งแต่ธรรมดา ระดับมากและไม่ควรจะนำมาซักแห้งตามลำดับภาพ ถือว่าเราจะส่งร้านในช่วงกระบวนการนี้เป็นส่วนใหญ่แต่ต้องบอกเลยว่าการรู้ไว้และกำชับกับร้านโดยเฉพาะมืออาชีพจะทำให้เสื้อผ้าตัวโปรดอยู่คู่ตู้เราได้ยาวนานแน่นอน

 

Dry

     การทำให้แห้งทั้งรูปแบบการตาก อบแห้งและปั่นแห้ง เริ่มจากการทำความเข้าใจรูปแบบของกระบวนการกันก่อนด้วยสัญลักษณ์สี่เหลี่ยมล้อมรอบวงกลมรูป 1-3 แถวบนหมายถึงการปั่นแห้งแบบธรรมดา แรง เบาตามลำดับ และสิ่งสำคัญต่อมาคืออุณหภูมิที่ใช้ดูได้จากแถวล่างลำดับที่ 1-5 จะเรียงจากความร้อนระดับใดก็ได้ ไม่ใช้ความร้อน และอุณหภูมิ สูง กลาง ต่ำตามลำดับ นี่นับเป็นกระบวนการที่จะชี้วัดได้ว่าใกล้จะจบกระบวนการการดูแลรักษาเสื้อผ้าแล้วจะพังเพราะความละเอียดอ่อนเหล่านี้หรือไม่ นอกจากนี้การตากผ้าหรือทำให้แห้งรูปแบบอื่น ๆ ก็สำคัญไม่แพ้กันเช่นสัญลักษณ์การแขวนเสื้อด้วยไม้แขวนแบบที่เราคุ้นเคยในรูปที่ 4 แถวบนหรือจะเป็น 2 รูปสุดท้าแถวล่างที่หมายถึงการพาดตากแนวราบ ปิดท้ายด้วยการ Drip Dry หรือการหนีบกับราวโดยไม่ต้องใช้ไม่แขวน ความละเอียดของเนื้อผ้าต้องสอดคล้องกับการตากเพราะความสำคัญคือจะทำให้เนื้อผ้ายังคงสภาพดีและเหมาะแก่การสวมใส่อยู่เสมอ ส่วนในฝั่งยุโรปและเอเชียมีการระบุกระบวนการทำผ้าให้แห้งเพียงแค่การใช้อุณหภูมิเท่านั้นคือกลางและต่ำอยู่มากสุดที่ 80 และ 60 องศาตามลำดับ

 

Other

     ปิดท้ายด้วยหมวดการดูแลผ้าอื่น ๆ ซึ่งหมายถึงการดูแลในขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการประกอบด้วยการตากและรายละเอียดของการตากเล็ก ๆ น้อย ๆ เพิ่มเติมจากหมวดก่อนหน้านี้ เริ่มจากสัญลักษณ์การตากในที่ร่มคือการห้ามโดนแสงแดดโดยตรงเพราะเนื้อผ้ามีความละเอียดและอาจจะกระด้างเมื่อถูกแสงแดดเผ่าเพื่อความแห้ง ต่อมาคือห้ามตาก และสุดท้ายคือสัญลักษณ์ห้ามบิดผ้าที่ในญี่ปุ่นแบบโบราณจะมีสัญลักษณ์เดียวกันแต่ไม่มีกากบาทนั่นหมายถึงการบิดอย่างทะนุถนอมเพื่อรักษาเสื้อผ้าให้อยู่ในรูปแบบที่มันควรจะเป็นมากที่สุด

 

     ทั้งหมดนี้เป็นสัญลักษณ์สากลที่ทุกคนควรรู้เกี่ยวกับการรักษาเสื้อผ้า เพราะทรงของชุด เนื้อผ้ารวมถึงสีและความหนาบางย่อมมีวิธีการดูแลรักษาที่แตกต่างกัน ฉะนั้นป้ายแคร์แท็กสำคัญอย่างมากห้ามละเลยเด็ดขาด มิเช่นนั้นอาจจะทำให้เสื้อผ้าในตู้มีอายุการใช้งานที่น้อยลงอย่างน่าตกใจ เสื้อผ้าจะอยู่เป็นหลักหลายสิบปีไม่ใช่เพราะความคงทนของตัวมันเองอย่างเดียวแต่หมายถึงการดูแลรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมด้วย ลองปฏิวัติการดูแลเสื้อผ้าในตู้ของเราใหม่แล้วจะรู้ว่าจริง ๆ แล้วเสื้อผ้าไม่ว่าชุดไหนมันทนกว่าที่เราคิด

WATCH

คีย์เวิร์ด: Care Tag