FASHION

CAMP คืออะไรกันแน่! มาทำความเข้าใจธีมงาน Met Gala ปีนี้กันดีๆ ก่อนไหม...

การมอบความรักให้กับความไม่ปกติ

     ก่อนที่คุณจะกดไลค์ แชร์ และเม้นท์เพื่อเม้าท์กับเพื่อนถึงชุดสวยตระการตาที่เหล่าบรรดาคนวงในของวงการแฟชั่นและเซเลบริตี้ชื่อดังต่างเลือกมาใส่เดินพรมแดงขึ้นบันไดสูงชันของ The Metropolitan Museum of Art ใจกลางนิวยอร์กเพื่อร่วมงานกาล่าระดมทุนเพื่อสนับสนุนกิจกรรมการงานของ The Costume Institute ที่มีแม่งานอย่าง Anna Wintour แห่ง Vogue US คอยเป็นผู้รังสรรค์และกำหนดทุกความเป็นไปที่จะเกิดขึ้นภายในงานแต่ละปี เราควรมาทำความเข้าใจและตกลงร่วมกันว่า ในปีนี้กับธีมที่หลายๆ คนเข้าใจผิดตั้งแต่ชื่องานว่า CAMP ที่ว่านี้หมายถึงอะไรกันแน่ เราลองมานั่งไล่เรียงความคิดกันดูใหม่ว่า อะไรกันแน่ที่จะเกิดขึ้นในงานปีนี้...

1 / 4

Andrew Bolton ภัณฑารักษ์ชื่อดัง อีกหนึ่งบุคคลสำคัญในงาน Met Gala ประจำปี / ภาพ : The cut


2 / 4

Anna Wintour โต้โผใหญ่ในการจัดงาน Met Gala ประจำปี กับลุคล่าสุดในงาน Met Gala ปี 2019 / ภาพ : Vogue


3 / 4

Susan Sontag นักวิชาการปรัชญาร่วมสมัยชื่อดัง จุดเริ่มต้นของงาน Mat Gala ปี 2019 / ภาพ : Wikipedia


4 / 4

บทความ Notes On Camp แรงบันดาลใจสำคัญของธีมงาน Met Gala ปี 2019 / ภาพ : qdb


     1. งานในปีนี้ยังคงได้แม่งานคนสำคัญอย่างภัณฑารักษ์ชื่อดัง Andrew Bolton และเจ้าแม่ผู้สนับสนุนกิจการงานศิลปะร่วมสมัยอย่าง Wendy Yu มาเป็นผู้ร่วมกันสร้างสรรค์นิทรรศการในครั้งนี้ (ซึ่ง Anna Wintour ออกตัวว่าเธอยังคงช่วยอยู่ในการให้คำปรึกษาต่างๆ ในมุมกว้างเท่านั้น) โดยหยิบเอาบทความของ Susan Sontag นักวิชาการปรัชญาร่วมสมัยชื่อดัง ที่ได้เขียนบทความประกอบงานวิจัยออกตีพิมพ์ในปี 1964 ที่ชื่อ Notes on ‘CAMP’ ที่มีเนื้อหาใจความถึงการมอบความรักให้กับความไม่ปกติ และมองไปยังสไตล์ที่หลากหลาย ซึ่งต่อมาเนื้อหาในบทความชิ้นนี้เองที่ได้กลายมาเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิด Stonewall Riots ในปี 1969 หรือการประท้วงเพื่อสิทธิของกลุ่ม LGBT ในกรุงนิวยอร์กก่อนจะเข้าสู่ยุคแห่งการตื่นรู้ของสังคมต่อบทบาทของคนกลุ่มนี้นั่นเอง มันจึงไม่ได้เป็นเพียงแค่สไตล์แฟชั่นหรือไร้ซึ่งรสนิยมยอดแย่แสนเชยหรือบ้าบออย่างที่คนบางกลุ่มมักให้นิยามหรือเข้าใจอย่างผิดๆ อย่างที่พยายามยัดเยียดให้กับ CAMP



WATCH




1 / 6

Harry Styles ประธานรับเชิญในงาน Met Gala ประจำปี 2019


2 / 6

Serena Williams ประธานรับเชิญในงาน Met Gala ประจำปี 2019


3 / 6

Lady Gaga ประธานรับเชิญอีกหนึ่งคนในงาน Met Gala ครั้งนี้ ที่มาพร้อมกับลุคพรมแดงถึง 4 ลุคด้วยกัน


4 / 6

Lady Gaga ประธานรับเชิญอีกหนึ่งคนในงาน Met Gala ครั้งนี้ ที่มาพร้อมกับลุคพรมแดงถึง 4 ลุคด้วยกัน


5 / 6

Lady Gaga ประธานรับเชิญอีกหนึ่งคนในงาน Met Gala ครั้งนี้ ที่มาพร้อมกับลุคพรมแดงถึง 4 ลุคด้วยกัน


6 / 6

Lady Gaga ประธานรับเชิญอีกหนึ่งคนในงาน Met Gala ครั้งนี้ ที่มาพร้อมกับลุคพรมแดงถึง 4 ลุคด้วยกัน


     2. นิทรรศการครั้งนี้จะจัดแสดงให้บุคคลทั่วไปได้เข้าชมตั้งแต่วันที่9 พฤษภาคมจนถึง 8 กันยายนนี้ โดยจัดขึ้นภายใน The Met Fifth Avenue’s Iris and B. Gerald Cantor Exhibition Hall ด้วยการสนับสนุนของแบรนด์แฟชั่นดังอย่าง Gucci โดยมีเจ้าภาพร่วมในการจัดงานกาล่าขึ้นก่อนเป็นประจำตามที่เคยได้ยินกันมาว่าThe First Monday in May ซึ่งในปีนี้นำทีมโดย Lady Gaga, Harry Styles, Serena Williams, Anna Wintour และดีไซเนอร์ดัง Alessandro Michele แห่ง Gucci ที่ออกตัวดังๆ ว่า “ผมโตมาในฐานะของเด็กๆ แห่งสไตล์  CAMP และจนถึงตอนนี้ผมก็ยังคงความเป็น CAMP เพราะผมยังคงชมชอบการใส่อะไรๆ ที่ดูแปลก เกินจริง และสวมใส่อย่างผิดแผกออกไป ซึ่งผมคิดว่า แล้วไงล่ะ มันไม่ได้มีข้อห้ามอะไรนี่!”

 

1 / 4

ภาพบรรยากาศการจัดนิทรรศการภายในงาน Met Gala ประจำปี 2019 กับธีมงาน Camp : Notes on Fashion / ภาพ : metmuseum


2 / 4

ภาพบรรยากาศการจัดนิทรรศการภายในงาน Met Gala ประจำปี 2019 กับธีมงาน Camp : Notes on Fashion / ภาพ : metmuseum


3 / 4

ภาพบรรยากาศการจัดนิทรรศการภายในงาน Met Gala ประจำปี 2019 กับธีมงาน Camp : Notes on Fashion / ภาพ : metmuseum


4 / 4

ภาพบรรยากาศการจัดนิทรรศการภายในงาน Met Gala ประจำปี 2019 กับธีมงาน Camp : Notes on Fashion / ภาพ : metmuseum


     3. โดยในงานกาล่าและนิทรรศการครั้งนี้ได้รับการออกแบบและสร้างสรรค์โดยนักออกแบบโรงละครและฉากละครชื่อดังอย่างJan Versweyveld หุ้นส่วนคนสำคัญกับนักออกแบบโรงละครชื่อดังอย่าง Ivo van Hove ที่เคยทำงานเบื้องหลังให้กับโปรดักชั่นในมิวสิควิดีโอเพลง Lazarus รวมถึงละครเพลงชื่อดังอย่าง A View from the Bridge จนคว้ารางวัลโทนี่มาแล้ว โดยจะจัดแสดงผลงานการออกแบบเสื้อผ้าจากดีไซเนอร์ชื่อดังที่ไล่เรียงมาตั้งแต่ Christian Dior, Cristobal Balenciaga, Franco Moschino, Bob Mackie, Jeremy Scott, Donatella Versace, Thierry Mugler จนถึงรุ่นใหม่ๆ อย่าง Virgil Abloh, Molly Goddard, Marc Jacobs จนถึง Karl Lagerfled ผู้ล่วงลับ “จบลงที่ว่าสุดท้ายแล้วคุณจะเห็นความเป็น CAMP ปรากฎอยู่ในทุกๆ ที่” Andrew Bolton กล่าว และมันแสดงให้เห็นว่า จริงๆ แล้ว CAMP ไม่ใช่เป็นเพียงแค่เรื่องของกลุ่มคนข้ามเพศ หรือคนแปลกแยกเท่านั้น ทุกอย่างรอบตัวสามารถถูกมองให้เป็น CAMP ได้ หากแต่เพียงสละซึ่งความคิดในเชิงดูถูก เหยียดหยัน หรือตั้งใจแบ่งแยก เพื่อแสดงความโง่เขลาทางปัญญาที่พยายามแสดงออกผ่านความคิด งานเขียน และการตีความแบบเข้าข้างความคิดตนเอง เพราะ CAMP จริงๆ แล้วก็คือ “บางอย่างที่เป็นเครื่องหมายแสดงออกถึงความเป็นส่วนตัว เป็นตัวแทนของความเป็นตัวเองนั่นเอง” มันจึงไม่มีอะไรผิดธีม หรือถูกธีมอย่างที่จะต้องมานั่งตั้งใจอธิบายและจับจ้องกันในการเดินพรมแดงเข้าสู่งานกาล่าในครั้งนี้ อย่างที่บางคนเข้าใจผิดและตั้งใจที่จะทำ

 

 

1 / 3

ตัวอย่างของงานศิลปะประเภทป็อปอาร์ตสุดโด่งดังของ Andy Warhol / ภาพ : quintessentially


2 / 3

Andy Warhol เจ้าพ่อแห่งศิลปะแนวป็อปอาร์ตชื่อดังในช่วงยุค 1960s / ภาพ : newyorker


3 / 3

Virgil Abloh ดีไซเนอร์ชาวอเมริกันชื่อดัง ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Off-White / ภาพ : coli delistraty


     4. แล้วอะไรคือความเป็น CAMP จริงๆ เรื่องนี้ Susan Sontag ตั้งใจบอกกับเราว่า “รสนิยมแบบ CAMP มีความเกี่ยวเนื่องกับศิลปะมากกว่าสิ่งอื่นใด” มันจึงเป็นศิลปะในการแต่งตัวรูปแบบหนึ่งที่ปรากฎให้เห็นสืบเนื่องผ่านกาลเวลามา หาใช่การพยายามทำอะไรอย่างไร้แบบแผนและที่มาที่ไป ต้นกำเนิดของความเป็น CAMP หากศึกษากันอย่างถ่องแท้เราจะพบว่ามันมีต้นกำเนิดอย่างจริงจังและพอจะมีหลักฐานที่ศึกษาได้มาตั้งแต่ยุคศตวรรษที่ 19 ตั้งแต่ในปี 1869 หรือย้อนไปได้ไกลกว่านั้นคือตั้งแต่ในศตวรรษที่ 17-18 ในยุคสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ด้วยซ้ำไป โดยปรากฎให้เห็นทั้งในรูปแบบของคำพูด รูปภาพ งานศิลปะ การแสดงออก และการแต่งกาย เรื่อยมาจนถึงยุคสมัยของนักคิดชื่อดังอย่าง Oscar Wilde เจ้าพ่อศิลปะป้อปอาร์ต Andy Warhol จนถึงศิลปินฮิปฮอปอย่าง Cardi B และดีไซเนอร์มาแรงอย่าง Virgil Abloh ซึ่งการแสดงออกถึงความเป็น CAMP ได้ถูกสานต่อ ปรับเปลี่ยน และให้นิยามเพิ่มเติมเข้าไปมาอย่างช้านาน หาใช่การแสดงออกซึ่งความตั้งใจล้อเลียนอย่างกวนประสาท แต่เป็นความตั้งใจที่จะแสดงให้เห็นว่ามีความงามปรากฎให้เห็นอยู่ในทุกรูปแบบ ขึ้นอยู่กับมุมมอง ทัศนคติ และการให้คำนิยามในแต่ละยุคสมัย อาจจะบอกได้ว่า แท้จริงแล้วมันคือการแสดงทางความคิดที่แยบยล ตลกร้าย และเสียดสีมุมมองให้คนที่มีวิสัยทัศน์คับแคบในแต่ละยุค ได้เปิดใจมองให้กว้างขึ้น เพื่อยอมรับความแตกต่างว่ามันหาใช่ความแตกต่างไม่ ดังที่ Oscar Wilde เคยกล่าวอย่างติดตลกแต่จริงจังและจริงแท้ว่า “บางทีเราควรเป็นผลงานทางศิลปะ หรือไม่ก็สวมใส่ศิลปะเองซะเลย”

 

1 / 5

Billy Porter ในงาน Met Gala ประจำปี 2019 อีกครั้งกับการเดินพรมแดงที่ไม่เคยธรรมดา


2 / 5

สมาชิกจากบ้าน Jenner และบ้าน Kardashian ก็ไม่เคยทำให้เราต้องผิดหวัง กับลุคเดินพรมแดงในงาน Met Gala ครั้งล่าสุด


3 / 5

Harry Styles ในลุคจากกุชชี่ ที่ขอควงคู่มากับ Alessandro Michelle บนพรมชมพูของงาน Met Gala ปีนี้


4 / 5

ศิลปินสาว Gwen Stefani ก็ไม่น้อยหน้า เดินเข้างานมาพร้อมกับ Jeremy Scott ในงานครั้งนี้


5 / 5

ขาดคนนี้ไปไม่ได้แน่นอน สำหรับ Diane Von Furstenberg กับลุคของเทพีเสรีภาพ บนพรมชมพูงาน Met Gala ประจำปี 2019


     5. ทีนี้ ทำไมมันจึงต้องนำมาเล่าหรือบอกกล่าวให้คนทั่วไปและคนรุ่นใหม่เห็น ได้ยิน และสัมผัสในปีนี้ด้วยล่ะ นั่นก็เพราะว่าเมื่อเรามองย้อนไปในช่วงสองสามปีมานี้ในสภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ทั้งในอเมริกาเองและทั่วโลก เราจะพบว่ามันเกี่ยวข้องกับความเป็น CAMP อยู่ไม่น้อย ทั้งการพยายามแบ่งแยกเชื้อชาติ เพศ และความคิดที่เกิดขึ้นอย่างที่ไม่น่าจะเกิดในยุคนี้ เราได้พบเห็นการเหยียดเพศ เหยียดเชื้อชาติ อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในยุคของ TRUMP กระแส #METOO การกลับมาให้การยอมรับกับศิลปินในตำนานอย่าง Freddie Mercury จน Bohemain Rhapsody กลายเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่คนพูดถึง และวง Queen กลับมาอยู่ในความสนใจของคนในยุคนี้ Elton John กำลังจะได้รับการสดุดีโดยหนังใหม่อย่างเรื่อง Rocketman การปรากฎกายในชุดทักซิโด้เดรสที่งานออสการ์ครั้งล่าสุดของ Billy Porter ไปจนถึงการประท้วงใหญ่เพื่อกดดันให้บรูไนยกเลิกกฎหมายประหารคนรักร่วมเพศโดยการปาก้อนหินใส่จากบรรดาคนดังทั่วโลก ซึ่งเหล่านี้มันสะท้อนให้เห็นว่าแนวคิดทางแฟชั่นแบบ CAMP ได้เข้าและกลับมาเกี่ยวเนื่องกับยุคนี้ได้อย่างชัดเจนไม่มากก็น้อย และมันถูกสะท้อนผ่านออกมาได้อย่างหลากหลายมิติ มากไปกว่าเรื่องแฟชั่นอันสวยงาม แปลกและหลากหลาย และได้รับความนิยมของ Gucci, Balenciaga หรือ Vetements โดย Demna Gvasalia ด้วยซ้ำ “CAMP” มันจึงกลายมาเป็นความคูลของพ.ศ.นี้ เพราะมันคือความปรารถนาดีของคนรุ่นใหม่ที่อยากสะท้อนผ่านความแย่ และมองให้เห็นถึงความหวังในการสร้างความงดงามที่แท้จริงต่อไป...

WATCH

คีย์เวิร์ด: #MetGala #MetCamp