SKINCARE

ไขข้อสงสัยไอเท็มบิวตี้แบบไหนที่ ‘คลีน’ อย่างแท้จริง

จากเทรนด์เฉพาะกลุ่มสู่เทรนด์ในกระแสหลักที่กลายเป็นเงื่อนไขอันขาดไม่ได้ของแบรนด์ชั้นนำ วงการความงามสายคลีนจึงเป็นวงการที่หลายคนอาจก้าวเข้าไปแบบไม่ทันรู้ตัว แต่ด้วยการตลาดที่ต้องการความสนใจและกวาดส่วนแบ่งให้มากที่สุด ความคลีนจึงกลายเป็นเหยื่อล่อชั้นดีของแบรนด์ความงามที่ผู้ใช้อย่างเราก็ไม่อาจรู้คำตอบครบถ้วนว่า ‘คลีนแค่ไหน’ และ ‘คลีนจริงหรือไม่’

     จากเทรนด์เฉพาะกลุ่มสู่เทรนด์ในกระแสหลักที่กลายเป็นเงื่อนไขอันขาดไม่ได้ของแบรนด์ชั้นนำ วงการความงามสายคลีนจึงเป็นวงการที่หลายคนอาจก้าวเข้าไปแบบไม่ทันรู้ตัว แต่ด้วยการตลาดที่ต้องการความสนใจและกวาดส่วนแบ่งให้มากที่สุด ความคลีนจึงกลายเป็นเหยื่อล่อชั้นดีของแบรนด์ความงามที่ผู้ใช้อย่างเราก็ไม่อาจรู้คำตอบครบถ้วนว่า ‘คลีนแค่ไหน’ และ ‘คลีนจริงหรือไม่’

‘ตัวต้นเรื่อง’ ของความสับสนในวงการ Clean Beauty

     ทั้งการโฆษณาหรือใส่จุดเด่นบนบรรจุภัณฑ์ เราอาจคุ้นตากับ 3 คำที่มักสร้างความสับสนให้กับผู้ใช้อยู่ไม่น้อยอย่าง ‘Clean’ ‘Natural’ และ ‘Organic’ โดยทั้งสามคำนี้เมื่อถูกใส่ลงในคำอธิบายของไอเท็มแต่ละชิ้นก็สามารถนับได้ว่าเป็นไอเท็มสายคลีนที่ปลอดภัยต่อผิวและ ‘อาจ’ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งความแตกต่างของทั้งสามอย่างนี้จะอยู่ที่การใช้สารสังเคราะห์และการรักษ์สิ่งแวดล้อม

Clean 

     แม้จะเป็นคำหลักของเทรนด์นี้แต่รู้หรือไม่ว่าไอเท็มที่นับว่า ‘คลีน’ นั้นยังมีสารสังเคราะห์ที่ไม่ได้มาจากธรรมชาติอยู่ แต่สารสังเคราะห์เหล่านี้จะไม่เป็นอันตรายต่อผิว แต่ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติหรือไม่นั้นเป็นเรื่องที่แบรนด์คงไม่อยากนำมาเล่าอย่างเปิดเผย 

Natural

     Natural ถือเป็นขั้นกว่าของความคลีนเพราะไอเท็มในหมวดคำนี้จะใช้ส่วนผสมที่มาจากธรรมชาติเท่านั้น ไร้ซึ่งสารสังเคราะห์ที่แม้จะปลอดภัยก็ตามแต่

Organic

     สุดท้ายคือ Organic ที่สรุปง่ายๆ ว่าปลอดภัยต่อผิวและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะใช้ส่วนผสมจากธรรมชาติที่ถูกเพาะปลูกแบบไร้สารเคมีทั้งพืชพรรณและดิน




WATCH



มาตรฐานความคลีน

     เมื่อ Clean Beauty กลายเป็นหนึ่งเป้าหมายที่แบรนด์ต่างต้องการให้ผลิตภัณฑ์ของตัวเองถูกนับรวมด้วย ทำให้ความคลีนที่ไร้ซึ่งนิยามแบบสากลถูกแปะป้ายบนไอเท็มบิวตี้มากมายจนกลายเป็นปัญหา ‘Greenwashing’ ที่ทำให้ผู้บริโภคอย่างเราไม่อาจแน่ใจได้ทั้งหมดว่านี่เป็นการทำผลิตภัณฑ์เพื่อการรักผิวและรักษ์โลกอย่างสัตย์จริง หรือเป็นเพียงการโฆษณาชวนเชื่อเท่านั้น เหตุนี้จึงเกิดองค์กรที่สร้างมาตรฐานความคลีนขึ้นเพื่อเปลี่ยนวงการคลีนบิวตี้ให้โปร่งใสยิ่งกว่าเดิม เช่น มาตรฐาน B Corp Certified หรือการการันตีจากเหล่าร้านค้าความงามเช่น Clean + Planet Positive by Sephora เพื่อจัดหมวดไอเท็มบิวตี้สายคลีนให้ชัดเจนและเพิ่มความไว้วางใจให้กับผู้ซื้อที่ต้องการความคลีนอย่างแท้จริงอีกด้วย

ไอเท็มสายคลีนไม่ควรพลาด

Tripeptide Plumping Lip Balm จาก The Inkey List

1 / 3

Tripeptide Plumping Lip Balm จาก The Inkey List (10ml 530 บาท)

ลิปบาล์มไร้สีที่ช่วยเติมเต็มให้ริมฝีปากดูอิ่มฟูแบบไม่ระคายเคือง พร้อมเป็นเกราะป้องกันช่วยเก็บความชุ่มชื้นไว้บนริมฝีปาก

Time Is Running Out Mist จาก Sioris

2 / 3

Time Is Running Out Mist จาก Sioris (100ml 1,080 บาท)

สเปรย์เติมความชุ่มชื้นแบบ Bi-phrase ที่ปราศจากสารอันตรายต่อผิว

OI Hair Butter จาก Davines

3 / 3

OI Hair Butter จาก Davines (250ml 1,050 บาท) 

ทรีตเมนต์ลดผมชี้ฟู พร้อมบำรุงให้ผมนุ่มลื่น

ภาพ : Courtesy of Brand
ภาพปกบทความ : จินาภา ฟองกษีร

WATCH

คีย์เวิร์ด: clean beauty